การศึกษาแนวทางการลงทุนและความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนของภาคเอกชน

การวิเคราะห์และศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) โดยการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงานดังกล่าว จะมีรูปแบบการให้ผลตอบแทนแก่เอกชน จะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 Net Cost Concession

เป็นการให้เอกชนลงทุนโดยเอกชนเป็นผู้จัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร และจ่ายค่าบริหารการเดินรถและบำรุงรักษา ผู้รับสัมปทานอาจเสนอส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ รัฐ (ตามที่ตกลงกันในเงื่อนไขของสัญญา)

รูปแบบที่ 2 Gross Cost Concession

เป็นการให้เอกชนลงทุนโดย รัฐ เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บรายได้จากการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นเองทั้งหมดทั้งรายได้หลักของการร่วมลงทุน และจะว่าจ้างให้เอกชนทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการและบำรุงรักษาสินทรัพย์นั้นตามระยะเวลาที่กำหนด โดยเอกชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาสินทรัพย์นั้น และจะได้รับผลตอบแทนจากหน่วยงานในภายหลัง ตามระดับและมาตรฐานการดำเนินงานและอัตราที่ตกลงกัน (Fixed Payment) เป็นการคงไว้ซึ่งความเสี่ยงด้านปริมาณผู้ใช้บริการไว้ที่หน่วยงาน หากเอกชนสามารถดำเนินการได้ตามระดับและมาตรฐานการดำเนินงานที่กำหนดก็จะได้รับอัตราค่าตอบแทนตามที่ตกลงกัน แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนดก็จะได้รับอัตราค่าตอบแทนลดลงหรือมีค่าปรับ หรือในกรณีที่รุนแรงอาจถูกยกเลิกสัญญาการร่วมลงทุนจากหน่วยงานได้

รูปแบบที่ 3 Modified Gross Cost Concession

เป็นการให้เอกชนลงทุนโดย รัฐ เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บรายได้จากการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นเองทั้งหมดทั้งรายได้หลักของการร่วมลงทุน และจะว่าจ้างให้เอกชนทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการและบำรุงรักษาสินทรัพย์นั้นตามระยะเวลาที่กำหนด โดยเอกชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาสินทรัพย์นั้น และจะได้รับผลตอบแทนจากหน่วยงานในภายหลัง ตามระดับและมาตรฐานการดำเนินงานและอัตราที่ตกลงกัน (Fixed Payment) เป็นการคงไว้ซึ่งความเสี่ยงด้านปริมาณผู้ใช้บริการไว้ที่หน่วยงาน หากเอกชนสามารถดำเนินการได้ตามระดับและมาตรฐานการดำเนินงานที่กำหนดก็จะได้รับอัตราค่าตอบแทนตามที่ตกลงกัน แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามกำหนดก็จะได้รับอัตราค่าตอบแทนลดลงหรือมีค่าปรับ หรือในกรณีที่รุนแรงอาจถูกยกเลิกสัญญาการร่วมลงทุนจากหน่วยงานได้