ในปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการบริการสาธารณะในด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ทั้งระบบขนส่งมวลชนทางรางในเมืองและระหว่างเมือง ดังจะเห็นได้จากโครงการก่อสร้างทางคู่ระยะเร่งด่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย และโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีส่วนเสริมสร้างให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาในด้านเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่ง ลดความสูญเสียจากการใช้ยานพาหนะทางบก ลดอุบัติเหตุทางถนน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจำเป็นต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ทำให้ภาครัฐนั้นไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการของประชาชนได้ การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน บริหารจัดการเดินรถ รวมทั้งบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นที่ฐาน และระบบรถไฟ จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายของรัฐ ซึ่งจะสามารถนำไปใช้พัฒนาโครงการอื่น ๆ ที่ภาครัฐมีส่วนรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะเดียวกันก็ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากความมีประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการดำเนินการของภาคเอกชนในการพัฒนาประเทศให้ก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็ว

ความเป็นมาโครงการ

ระยะเวลาดำเนินการโครงการ

360 วัน

ระยะเวลาดำเนินการ

มิถุนายน 2564

เริ่มดำเนินการ

พฤษภาคม 2565

สิ้นสุดโครงการ

ข่าวประชาสัมพันธ์

ขอเชิญเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยขอเชิญเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย
โดยได้จัดประชุมกลุ่มย่อยเป็น 4 เวที ตั้งแต่วันที่ 22-25 มีนาคม 2565 รายละเอียดดังต่อไปนี้

09-03-2022

อ่านข่าวเพิ่มเติม >
สรุปผลการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) ครั้งที่ 1สรุปผลการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) ครั้งที่ 1
เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลสรุปผลการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน(Market Sounding) ครั้งที่ 1 ให้สาธารณะชนได้รับทราบ

12-11-2021

อ่านข่าวเพิ่มเติม >